การสร้าง Personal Branding ในยุคดิจิทัล

การสร้าง Personal Branding ในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสร้าง ความรู้จักกับบุคคลอื่น ๆ ได้ง่ายผ่านโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ บล็อก โซเชียลมีเดีย โดยเราต้องสร้างและควบคุมภาพลักษณ์ของตัวเอง ในสายตาของผู้คน ผ่านของความเชี่ยวชาญทักษะเฉพาะ บุคลิกภาพ ไลฟ์สไตล์ ค่านิยม และเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของเราที่ต้องการให้ผู้อื่นจดจำ

การสร้าง Personal Branding มีขั้นตอนที่สำคัญคือการระบุ การสร้างความเชื่อมโยงและความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เรานำเสนอ การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการส่งเสริม Personal Brand เช่น การเขียนบทความ การโพสต์คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญของเรา หรือการสร้างเนื้อหาวิดีโอที่แสดงความสามารถและความเป็นตัวของเราอย่างชัดเจนโดยสามารถเริ่มต้นได้จากการทำความเข้าใจว่าตัวเราเป็นใคร
และต้องการสื่อสารอะไรออกไป จากนั้นเลือกใช้แพลตฟอร์มและกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อสร้างการรับรู้และความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายของเรา

4 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเริ่มต้น Personal Branding มีดังต่อนี้

1. Personal Brand Vision
วิสัยทัศน์ของ Personal Branding คือการกำหนดภาพลักษณ์และทิศทางที่บุคคลต้องการเป็นที่รู้จักในระยะยาว ทั้งในแง่ของอาชีพ ความเป็นมืออาชีพ หรือคุณค่าที่ต้องการส่งต่อไปยังผู้ติดตาม การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนทำให้สามารถกำหนดทิศทางการสื่อสาร การพัฒนาตนเอง และการวางแผนอนาคตที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว นอกจากนี้ยังช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกับความตั้งใจของแบรนด์

2. Key Communication Message
แกนหลักการสื่อสารเป็นแนวคิดหลักที่ใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการสื่อสาร Personal Branding ซึ่งประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญที่สื่อถึงความเชี่ยวชาญ คุณค่า และความเป็นตัวตน การวางแกนหลักในการสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยให้ทุกการสื่อสารมีความต่อเนื่องและคงความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์หรือการสื่อสารแบบส่วนตัว แกนหลักที่ชัดเจนจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและยืนยง

3. Communication Level & Style
รูปแบบและระดับการสื่อสารใน Personal Branding สามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตามกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ตั้งแต่การสื่อสารภายใน (Internal Communication) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจและตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองภายในองค์กร ไปจนถึงการสื่อสารภายนอก (External Communication) ซึ่งเป็นการสื่อสารสู่สาธารณะ หรือกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขวาง โดยการเลือกใช้รูปแบบและระดับการสื่อสารที่เหมาะสม จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงและสร้างผลตอบรับได้ดีและในเวลาอันรวดเร็ว

4. Content Planning and Framework
โครงสร้างและการวางแผนเนื้อหาที่เป็นระบบ เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแบรนด์ส่วนตัว กรอบเนื้อหานี้ควรครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และคุณค่าที่ต้องการสื่อออกไป การสร้างเนื้อหาที่มีระบบ เป็นไปตามทิศทางของแบรนด์ กระแส ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถติดตามผลลัพธ์เพื่อนำมาปรับแก้ไขได้