การเรียนรู้หลักการสร้างแบรนด์และการสร้างแบรนด์เพื่อเชื่อมต่อโลกดิจิทัลมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ธุรกิจโดดเด่นในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มการมองเห็น จดจำ และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า โดยมีบทบาทสำคัญในการจัดการชื่อเสียง
ภาพลักษณ์ปรับเปลี่ยนประสบการณ์ให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและความสำเร็จซึ่งปัจจุบัน
การสร้างแบรนด์แบบดั้งเดิมซึ่งมักจะอาศัยสื่อพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ ไม่เพียงพอที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ เมื่อดิจิทัลเข้ามาแทนที่ในการเข้าถึง
ผู้คนในชีวิตประจำวัน กลยุทธ์การสร้างแบรนด์บนดิจิทัลจึงต้องเข้าใจเรื่องจุดเด่นของสินค้าหรือบริการในทุก ๆ มิติ เพื่อออกแบบตัวตน และอัตลักษณ์แบรนด์ โลโก้ สี ตัวอักษร การนำเสนอผ่านอารมณ์ ความรู้สึก (mood & tone) เพื่อให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ว่าแบรนด์เป็นใคร ขายสินค้า
ประเภทไหน มีดีและแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร ซึ่งไม่แตกต่างกับการสร้างแบรนด์ทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนมาเน้นและนำเสนอบนแพลตฟอร์มดิจิตัลต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย อีเมล และอี-มาร์เกตเพลส เป็นต้น
โดยทั่วไปการสร้างแบรนด์บนดิจิทัลจะต้องมี 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ ดังนี้
1. การมองเห็น (Visibility)
การรับรู้ การมองเห็นบนจุดสัมผัส touchpoints ต่างๆบนโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับเมื่อค้นหาแบรนด์ การสร้างคอนเทนต์ที่ดีมีการแชร์ต่อเพื่อเกิดการสื่อสาร บอกต่อ ๆกัน การซื้อสื่อโฆษณาดิจิทัล
2. ตัวตน (Identity)
การสร้างตัวตน เอกลักษณ์ที่ชัดเจน บนโซเซียลมีเดีย เว็บไซต์ของตัวเอง พร้อมเนื้อหาการนำเสนอที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ จุดยืน
3. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
การมีปฎิสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของผู้คนบนโซเชียลมีเดีย น้ำเสียง และการให้คะแนน/คอมเมนต์ประสบการณ์โดยรวมที่บ่งบอกข้อดี คุณค่าของแบรนด์จากผู้ใช้
![](https://bizdiform.com/wp-content/uploads/2024/10/image-1-1024x436.png)
การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)
ออกแบบมาเพื่อดึงดูดลูกค้าเป้าหมายผ่านการใช้ช่องทางดิจิทัล แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการ กระตุ้นยอดขาย และบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง แต่การสร้างแบรนด์ดิจิทัล (Digital Branding) มีอยู่เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันกับลูกค้า ครอบคลุมกระบวนการสร้างเอกลักษณ์และการรับรู้ที่โดดเด่นของแบรนด์ในพื้นที่ดิจิทัล โดยมุ่งเน้นที่การกำหนดรูปแบบการรับรู้แบรนด์ของกลุ่มเป้าหมาย การสร้างการเชื่อมต่อทางอารมณ์ และการสร้างความภักดีในแบรนด์ ซึ่งต้องเริ่มต้นจาก 2 ส่วนหลัก และแบรนด์ต้องมีการสื่อสารออกไปในทิศทางเดียวกันด้วย คือ
1. การออกแบบแบรนด์ (Brand Design)
การออกแบบแบรนด์ที่ดี ไม่ใช่แค่ออกแบบสวย แต่การใช้โทนสี ตัวหนังสือ กราฟฟิค หรือ รูปแบบ ต้องสามารถสื่อสารตัวตนของแบรนด์ได้ และต้อง
สามารถสร้างการจดจำ สร้างภาพของแบรนด์ให้เกิดขึ้นในใจลูกค้าได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าสามารถแยกแยะแบรนด์ของเราออกจากแบรนด์คู่แข่งได้ โดยโลโก้ (LOGO) คือ “สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย” ที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ แต่ไม่ใช่แบรนด์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแบรนด์
![](https://bizdiform.com/wp-content/uploads/2024/10/image-1-2-1024x640.png)
2. แก่นแท้ของแบรนด์ (Brand Essence)
การใช้หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแบรนด์ และหาตำแหน่งของแบรนด์ เพื่อช่วยสร้างแบรนด์ จาก 9 ปัจจัยเฟรมเวิร์กเครื่องมือ รูปรูกุญแจ (Brand Key) โดยบริเวณด้านล่างจะประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ที่เปรียบเสมือน “ฐานราก” ที่สำคัญในการสร้างแบรนด์ ส่วนบริเวณด้านบนที่เป็นส่วนหัวของรูกุญแจ จะประกอบไปด้วย ปัจจัยภายในของแบรนด์หรือธุรกิจนั้น ๆ อีก 5 ปัจจัย เปรียบเสมือนองค์ประกอบสำคัญของการสร้างแบรนด์ ดังนี้
- ประวัติศาสตร์ / ความแข็งแกร่งของรากฐาน (Historical / Root Strengths)
สิ่งสำคัญของการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่งก็คือ เรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์ จุดกำเนิด (Inception) คือ เรื่องราวจุดเริ่มต้น ประวัติความเป็นมา (The Brand’s History) คือ เรื่องราวสำคัญในช่วงเวลาต่าง ๆ ของแบรนด์ รวมถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (The Geographical Location) คือ การเชื่อมโยงแบรนด์กับแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ - กลุ่มเป้าหมาย (Target)
การทำความเข้าใจและกำหนดลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราให้ได้มากที่สุด ซึ่งสามารถทำผ่าน Buyer Persona ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และรวมถึงความสนใจ ทัศนคติ ความเชื่อ ไลฟ์สไตล์ - ข้อมูลเชิงลึก (Insight)
ข้อมูลเชิงลึก เพื่อหาความต้องการที่แท้จริง ซ่อนอยู่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย - ข้อดี / ประโยชน์ (Benefits)
คือคุณค่าที่แบรนด์สร้างขึ้นและเชื่อมโยงไปให้กับลูกค้าของแบรนด์ โดยแบ่งคร่าวๆเป็น 2 กลุ่ม คือ
– ประโยชน์เชิงการใช้งาน (Functional Benefits) เช่น ดื่มดับกระหาย, ใช้สวมใส่สบาย บางเบา, ใช้ตกแต่งบ้านง่ายๆ, ลดริ้วรอย
– ประโยชน์เชิงอารมณ์ (Emotional Benefits) เช่น สร้างความสนุกสนาน, ให้ความถวิลหาอดีต, ความมั่นใจ, ความภูมิใจ - ค่านิยม, ความเชื่อ และบุคลิกภาพ (Values, Beliefs & Personality)
– ค่านิยม คือ สิ่งที่แบรนด์มองว่ามีคุณค่า เป็นสิ่งที่น่ายึดถือ
– ความเชื่อ คือ สิ่งที่แบรนด์ยอมรับว่าเป็นความจริง มีอยู่จริง หรือสามารถเกิดขึ้นได้
– บุคลิกภาพ คือ คุณลักษณะของแบรนด์ ไม่ว่าจะมองเห็นได้หรือไม่ได้ก็ตาม - เหตุผลที่น่าเชื่อถือ (Reason to Believe)
ข้อมูลและเหตุผลที่มาสนับสนุนความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ สินค้า หรือบริการ เช่น การรับรองจากหน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ, การรีวิวการใช้งานจริงจากลูกค้าเก่า, ส่วนผสมใหม่ที่ได้รับการวิจัยจากสถาบันชั้นนำ - คุณลักษณะที่แตกต่าง (Discriminator)
ความแตกต่าง จุดเด่นระหว่างแบรนด์ของเรากับแบรนด์ของคู่แข่ง ที่โดดเด่น - แก่น / ใจความสำคัญของแบรนด์ (Brand Essence)
สิ่งที่แบรนด์ยืนหยัดในทางการค้าและการตลาด ซึ่งปกติมักจะหมายถึงพันธกิจหรือคำมั่นสัญญา คุณค่าที่แบรนด์มีต่อลูกค้า พนักงาน หรือแม้แต่สังคม
เครื่องมือนี้ จะช่วยให้มองเห็นปัจจัยรอบด้านมากขึ้นในการสร้างแบรนด์แบรนด์หนึ่งขึ้นมา ให้มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า เพื่อสร้างหรือสเกลอัปธุรกิจของตัวเองให้เติบโตมากขึ้น โดยต้องใช้ประกอบกับการนำเสนอ แบรนด์ผ่านอัตลักษณ์ที่สอดคล้อง โดดเด่น ถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่องบนโลกดิจิทัล จึงจะเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว
![](https://bizdiform.com/wp-content/uploads/2024/10/image-1-1-1024x571.png)
![](https://bizdiform.com/wp-content/uploads/2024/10/image-2-1024x571.png)